Monday, December 2, 2013

研究について その②

กุ๊กๆหลังจากที่โพสที่แล้วแม่ไก่ได้ระบุเป้าหมาย แผนการ เครื่องมือที่ใช้ และสิ่งที่คิดว่าจะได้รับเป็นอันเรียบร้อยแล้ว แม่ไก่ก็จะมาขอขยายความในส่วยของหัวข้อที่สนใจจะศึกษานั่นก็คือการเขียน โดยเน้น複合動詞นั่นเองนะกะต๊ากกก

·       เหตุผลในการเลือกศึกษาテーマนี้

ก่อนอื่นอาจารย์มีให้เลือกพัฒนาทักษะด้านการพูดกับด้านการเขียนอย่างใดอย่างหนึ่งนะคะ ซึ่งแม่ไก่เลือกเขียนเพราะว่า แม่ไก่พูดภาษาญี่ปุ่นกับแม่ของแม่ไก่มาตั้งแต่เด็กๆแต่ไม่ค่อยได้เขียนเลยทำให้รู้สึกว่าทักษะการเขียนด้อยกว่า อีกทั้งการที่เรายิ่งฝึกเขียนบ่อยก็จะยิ่งพัฒนาทักษะและจำได้ดีด้วย ส่วนเหตุผลที่เลือก複合動詞เพราะคิดเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีสอนในหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นหัวข้อ และถือมีก็คาดว่าเยอะและต้องอาศัยการท่องจำจนสับซนมากกว่า จึงคิดว่าภายใน1เทอมนี้อยากจะทำการศึกษา複合動詞ที่เห็นบ่อยแต่คนไทยไม่ค่อยใช้เพราะไม่รู้ หรือใช้แต่มีการใช้กันผิดๆเป็นหลักค่ะ

·       複合動詞 คืออะไร

複合動詞(Compound Verbs) หรือคำกริยาประสม หมายถึง การนำคำกริยามาผสมกับหน่วยคำที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย จนทำให้เกิดเป็นกริยาประสมขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นการนำคำประเภทคำนาม  ส่วนหนึ่งของคำเลียนเสียงธรรมชาติและคำคุณศัพท์ มาผสมกับคำกริยา นอกจากนี้ยังมีการนำคำกริยาด้วยกันเองมาผสมกันอีกด้วย

·        ประเภทของ複合動詞

ทั้งนี้複合動詞สามารถแบ่งประเภทออกเป็น  4 ประเภทหลักๆ ได้แก่

1動詞+動詞 (V1 + V2) → เกิดจากการนำคำกริยา 2 คำที่มีความหมายแตกต่างกันมาผสมกัน

1.1動詞テ型+動詞  เช่น 「取っておく」เก็บเอาไว้ 、「書いてみる」ลองเขียน

1.2動詞連用形+動詞  เช่น 「話し合う」เจรจากัน    、「落ち込む」รู้สึกเศร้า

2名詞+動詞 (N. + V.) → เกิดจากการนำคำนามและคำกริยามาผสมกัน

 เช่น「目覚める」ตื่น    、「役立つ」เป็นประโยชน์

3形容詞/擬態語+動詞 (Adj./Mimicing word + V.) → เกิดจากการนำคำคุณศัพท์และคำกริยามาผสมกัน
เช่น「若返る」ดูอ่อนเยาว์ลง 、「べとつく」เหนียว

4)  副詞+ 動詞(adv.+V.)   → เกิดจากการนำคำกริยาวิเศษและคำกริยามาผสมกัน

เช่น 「ピカピカする」เป็นประกาย    、「 ぼんやりする」เหม่อลอย

·        ตารางแสดงความถี่ในการใช้複合動詞แต่ละประเภท


形態
頻度
(1.1)
動詞テ型+動詞
72%
(1.2)
動詞連用形+動詞
26%
(2)
名詞+動詞
1%
(3),(4)
形容詞/擬態語+動詞
や 副詞+ 動詞
1%


No comments:

Post a Comment