Tuesday, December 10, 2013

研究について その➂

ฮาโหลๆๆ แม่ไก่กลับมาแล้วนะกะต๊ากก ช่วงวันหยุดที่ทุกๆคนมีเวลาทำการบ้าน แม่แก่บินไปงานศพของคุณตาที่ญี่ปุ่นมานะกะต๊ากก งานศพญี่ปุ่นวุ่นวายและซับซ้อนมากๆ ต้องห้ามให้ธูปดับตลอดข้ามคืน ดังนั้นแม่แก่เลยอดหลับอดนอนไม่มีแม้แต่เวลาและแรงในการมาอัพเดตบล็อกเลย ….ตอนนี้แม่ไก่เลยเขียนบล็อกอยู่บนเครื่องบินขากลับนะกุ๊กๆๆ โอเคก็หลังจากที่แม่ไก่ได้บอกเล่าถึงความหมายและประเภทของ複合動詞ไปใน研究について その②ไปแล้ว แม่ไก่ก็จะมาขอลงลึกกว่านั้นอีกนิดนึง แล้วสัญญาว่าจะเป็นโพสสุดท้ายเกี่ยวกับทฤษฎีแล้วกะต๊ากกกกก เพราะタスクต่างๆควรจะลงได้แล้ว!!!!!

ก่อนอื่นทุกคนยังจำตารางนี้ได้ไหมเอ่ย
•        ตารางแสดงความถี่ในการใช้複合動詞แต่ละประเภท
形態
頻度
(1.1)
動詞テ型+動詞
72%
(1.2)
動詞連用形+動詞
26%
(2)
名詞+動詞
1%
(3),(4)
形容詞/擬態語+動詞
や 副詞+ 動詞
1%

คือที่คราวที่แล้วทิ้งท้ายไว้โดยที่ยังไม่ได้อธิบายอะไรเพราะกลัวว่าเดี๋ยวจะยาวไป ฮ่าๆๆๆ ก็เลยจะมาอธิบายต่อนะกุ๊ก ดูจากตารางก็คงรู้ใช่ป่าวว่า 複合動詞ประเภท動詞+動詞 มีการนำมาใช้มากสุด ดังนั้นแม่ไก่จึงขอลงลึกแค่หัวข้อนี้นะกะต๊าก ส่วนหัวข้ออื่นถ้าบังเอิญเจอก็จะเอามาพูดคุยบ้าง แต่อาจจะไม่เน้นมากนัก ขอเสริมเพิ่มเติมว่า複合動詞ซึ่งเป็นคำประสมนั้นประกอบด้วย คำหน้า(前項)และคำหลัง(後項) เสมอ โดยส่วนใหญ่คำหลัง(後項) มักเป็นคำกริยาที่ออกเสียงแบบ訓読みนะกะต๊ากกกก

動詞+動詞 (V1 + V2) สามารถแบ่งเป็น2หัวข้อดังนี้

1.テ形(タ系連用形)類
เป็นคำกริยาประสมที่มีการเชื่อมกันด้วยテ形สามารถแบ่งย่อยเป็น3หัวข้อ ได้แก่
1.1          [v(คำขยาย)+V.] เช่น 急いで食べた

1.2          [v+V.] เช่น 見て分かる

1.3          [v(คำขยาย)+V.] สามารถแบ่งย่อยออกเป็น3ประเภท คือ

1.3.1 คำกริยาประสมที่เกี่ยวข้องกับアスペクトซึ่งเป็นคำกริยาผสมที่แสดงขั้นตอนของกริยาประกอบ 「~ている、~てある、~てしまう、~ていく、~てくる」เช่น  なっていく

1.3.2 คำกริยาประสมที่เกี่ยวข้องกับการให้รับ 「~てもらう、~ていただく、~てくれる、~てくださる、~てあげる、~てやる、~てさしあげる」เช่น やってもらう

1.3.3 คำกริยาประสมอื่นๆ「~ておく、~てみる、~てみせる」เช่น  取っておく      2.連用形類
เป็นคำกริยาประสมอีกรูปหนึ่ง ที่มีการเชื่อมกันด้วยรูป連用形หรือรูปหน้า~ますการเชื่อมกันเช่นนี้สำหรับบางคำไม่ได้ระบุเป็นคำคุณศัพท์กริยาประสมในพจนานุกรม เนื่องจากสามารถเชื่อมได้กับกริยาแทบทุกตัว เช่น「~おわる」ในขณะที่บางคำจะระบุเป็นคำกริยาประสมพิเศษ เช่น 「~だす」ในที่นี้ขอกล่าวถึงเพียง 5 ประเภท ได้แก่

2.1 คำกริยาประสมที่เกี่ยวข้องกับアスペクトซึ่งเป็นคำกริยาผสมที่แสดงขั้นตอนของกริยาประกอบ 「~はじめる、~だす、~かける、~おわる、~おえる、~やむ、~あがる、~あげる」เช่น  「言い始める」เริ่มพูด「言い出す」พูดออกมา「やり終える」จัดการเสร็จ

2.2 คำกริยาประสมที่แสดงความหมายเสร็จสิ้น 「~つくす、~ぬく、~とおす、~きる、~はたす」เช่น「食べ切る」กินจนหมด「生き抜く」มีชีวิตรอด

2.3 คำกริยาประสมที่แสดงความหมายไม่เสร็จสิ้น「~忘れる、~そびれる、~しぶる、~かねる」 เช่น「言い忘れる」ลืมพูด「見落とす」มองข้ามไป

2.4 คำกริยาประสมอื่นๆ 「~あう、~なおす、~かえす、~かえる、~つける、~かかる、~込む、~出す、~つく、~そやす、~こける」เช่น 「言い直す」พูดแก้「取り出す」หยิบออก
2.5 คำกริยาเรียง(Serial Verb) เช่น「殴り倒す」ต่อยคว่ำ「持ち上げる」ยกขึ้น

โอเคที่นี่ก็พอจะเข้าใจเกี่ยวกับ複合動詞ประเภท動詞+動詞 (V1 + V2)ที่พบเห็นมากที่สุด ในระดับนึงแล้วเน๊อะ ต่อไปแม่ไก่ก็จะพยายามหา複合動詞ในบทอ่านต่างๆ พร้อมทั้งแบ่งประเภทและหา複合動詞ที่ใกล้เคียงกับคำนั้น หรือสับสนบ่อย มาให้ทุกคนเข้าใจนะกะต๊ากกกกกกก

No comments:

Post a Comment