Thursday, January 16, 2014

Day10(2.26gm) : 「~込む」の複合動詞

コッケコッコ―!!皆さん、おはようございます!!



เช้านี้แม่ไก่ทานขนมปังลูกเกดตามภาพเลยนะกะต๊ากก ก่อนทานก็เหลือบไปเห็น複合動詞เช่นเคย ฮ่าๆๆๆๆ รู้สึกว่าตั้งแต่เริ่มมีบล็อก โดยเฉพาะเริ่มลงภาคสนามนี่ตาเป็นสัปปะรดเลย โอเคเข้าเรื่องๆ ก็จากฉลากบนขนมปังนี้ก็มีประโยคว่า「小麦の風味豊かな生地に甘みのあるレーズンを混ぜ込んだフランスパン。」ดังนั้น複合動詞ที่เจอก็คือคำว่า混ぜ込むนั่นเอง

ま・ぜ‐こ・む 【混ぜ込む】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่4 คือ คำกริยาประสมอื่นๆ
เป็นคำที่ประกอบจากま・ぜる【混ぜる】ผสม+こむ【込む】  เข้าไป
ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า การผสมเข้าไป มักใช้กับการทำอาหาร
เช่น「炊き立てのご飯に生卵を混ぜ込むと美味しいですよ。」

ไหนๆก็พูดถึงคำที่มี「込む」แล้ว ครั้งนี้แม่ไก่เลยขอพูดประเด็นที่เคยค้างไว้ด้วยนะกะต๊ากกก นั้นคือคำว่า「引き込む」 กับ「巻き込む」 นั้นมีความหมายที่เหมือนกันโดยมีความหมายว่าดึงเข้าไปข้างใน  แล้วเราจะมาดูกันว่าจะแยกใช้ให้ถูกต้องต้องทำอย่างไร โดยที่แม่ไก่อธิบายวิธีใช้ที่แตกต่างกันของ2คำดังกล่าว พร้อมคำที่ใกล้เคียงอีก2คำ และยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนนะกุ๊กๆ

「引き入れる」ใช้กับความหมายว่า การลากคนหรือสิ่งของเข้าไปข้างใน หรือหมายถึงการเพิ่มสมาชิกในกลุ่ม
เช่น 客を部屋の中へ引き入れて接待した。
  友達をサークルに引き入れた。

「引き込む」นั้นมีความหมายคล้ายคลึงกับ「引き入れる」นั่นคือการลากเข้าไปข้างใน แต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยคือ 引き込むจะมีความหนักแน่นมากกว่า
เช่น田に水を引き込む。
      仲間を悪の道に引き込む。

「抱き込む」ถ้าในความหมายตรงๆจะหมายถึงการโอบกอดไว้ แต่โดยทั่วไปจะใช้ในความหมาย การเชิญชวนคนอื่นไปที่ใดที่หนึ่งพร้อมกัน  การให้คนมาอยู่กับเราหรือเข้าข้างเรา
เช่น 金で政治家を抱き込む。

「巻き込む」หมายถึงการม้วนหรือลากเข้าไปข้างใน  โดยในกรณีที่เป็นเครื่องจักรหรือ พายุจะหมายถึงการที่ร่างกายของเราเข้าไปอยู่หรือติดกับสิ่งนั้นๆจริงๆ  แต่ ในกรณีของคดี การต่อสู้หรือการทะเลาะวิวาทจะไม่ได้หมายถึงการที่ร่างกายเข้าไปเกี่ยวพัน แต่หมายถึงการที่เราเข้าไปพัวพันด้วย ซึ่งส่วนใหญ่คำว่า巻き込むนี้จะถูกใช้ในความหมายแง่ลบ
เช่น 機械に指を巻き込まれる。
      子供を夫婦げんかに巻き込む。

เป็นยังไงบ้างกุ๊ก พอจะเริ่มเข้าใจการใช้แต่ละคำแล้วนะกุ๊กกก


No comments:

Post a Comment