Tuesday, December 31, 2013

Day5(0.13gm) : 「名前も分からぬあなたへ」からの複合動詞


เนื่องจากทุกๆคนอยากเรียนการเขียนอีเมล อาจารย์เลยถามว่าอยากเขียนเป็นจดหมายรักรึเปล่า ซึ่งทุกคนส่ายหน้าเป็นพร้อมกันนะคะ ฮ่าๆๆๆๆ อาจารย์เลยนำบทความเรื่อง「名前も分からぬあなたへ」จดหมายรักของชายหนึ่งคนหนึ่งที่อยู่ในนิยายมาให้อ่านแทน ซึ่งเนื้อหาที่ชายหนุ่มคนนั้นเขียน น้ำเน่ามาก แถมไม่ได้เขียนเองด้วยเพราะไปจ้างคนอื่นเขียน ทำให้รู้สึกว่าไม่มีความรู้สึกจริงจังนั้นออกมาตอนที่อ่าน อย่างไรก็ตามตอนอ่านแม่ไก่ก็อ่านไปด้วย อวกไปด้วย ไฮไลท์คำ複合動詞ไปด้วยนะกะต๊ากกกกกก

複合動詞ที่เจอในจดหมายนี้มีมากมายหลายคำเลย มีคำว่า手渡す、書き始める、探し当てる、立ち寄るนะกะต๊ากกกกก

โอเคเรามาเริ่มดูความหมายของแต่ละคำดีกว่า

1.て‐わた・す【手渡す】เป็น複合動詞แบบ名詞+動詞คือ เกิดจากการนำคำนามและคำกริยามาผสมกัน
เป็นคำที่ประกอบจาก て【手】มือ+わた・す【渡す】ให้

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า การส่งของให้จากมือของผู้ให้ไปยังอีกมือของผู้รับ

เช่น「一人一人に卒業証書を手渡す」

2.かき‐はじ・める【書き始める】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่1 คือ  คำกริยาประสมที่เกี่ยวข้องกับアスペクトซึ่งเป็นคำกริยาผสมที่แสดงขั้นตอนของกริยาประกอบ 
เป็นคำที่ประกอบจาก かく【書く】เขียน+はじめる【始める】เริ่ม

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า การเริ่มต้นที่จะเขียนประโยคออกไป

เช่น 「手紙を書き始める」

3.さがし‐あ・てる【探し当てる】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่4 คือ คำกริยาประสมอื่นๆ
เป็นคำที่ประกอบจาก さがす【探す】หา+あてる【当てる】เดา

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่าค้นพบสิ่งที่ตนหาอยู่

เช่น「持ち主をようやく探し当てる」

4.たち‐よ・る【立ち寄る】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่4 คือ คำกริยาประสมอื่นๆ
เป็นคำที่ประกอบจาก たつ【立つ】ยืน+よる【寄る】แวะ

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า

เข้าไปไกลๆ เช่น 「窓辺に立ち寄る」

การแวะเวียนก่อนที่จะไปถึงปลายทาง เช่น「帰りがけに書店に立ち寄る」



ขอจบเพียงเท่านี้ก่อนน๊า เดี๋ยวแม่ไก่ต้องออกไปปาร์ตี้กับญาติๆแล้วกะต๊ากๆๆ ดึกๆจะกลับมานะกะต๊ากกก

2 comments:

  1. อ่านบล็อกของคุณแม่ไก่แล้วได้ความรู้มากเลยครับ เราเองก็อยากใช้複合動詞ให้คล่องๆบ้าง แต่คิดว่ายากจังเลย คุณแม่ไก่พอจะมีเทคนิคการเรียนที่เป็นประโยชน์บ้างไหมครับ

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยียนบล็อกแม่ไก่นะกะต๊ากกก แม่ไก้ก็รู้สึกว่า複合動詞นี่ยากเหมือนกันตรงที่ว่าเราไม่ค่อยได้เรียนในห้อง พอเจอตามบทความก็อาจจะมองข้ามๆไป แม่ไก่ว่าจริงไแล้วบางคำเดาความหมายไม่ยากเลย โดยที่พยายามมองให้ออกว่าประกอบจากคำอะไร แต่บางคำอาจจะใช้สับสนก็ต้องอาศัยการดูตัวอย่างการใช้ที่แตกต่างแล้วก็ลองใช้บ่อยๆเน๊อะกะต๊ากก

    ReplyDelete