Tuesday, December 31, 2013

Day7(0.57gm) : 「逃げることは、ほんとにひきょうか」からの複合動詞

แม่ไก่กลับมาจากปาร์ตี้แล้ว อิอิ มาคุยกันต่อดีกว่า เอ๊ แม่ไก่จะอัพเรื่องอะไรต่อดีน๊า
อัพ複合動詞ที่ไฮไลท์ค้างๆไว้ให้หมดดีกว่าเน๊อะ งั้นเรามาลุยต่อในชีท「逃げることは、ほんとにひきょうか」ซึ่งเป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาJap reading2กันต่อเลยนะกะต๊ากกกก
複合動詞ที่เจอมีดังนี้น๊า 飛び出す、考えてみる、のぞいてみる、向かい合う、教え込む、逃げ出す、押さえつける、流れ着く、振る舞う โอ้วทำไมมีเยอะจังเลย

1.とびだす【飛び出す】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่5 คือ คำกริยาเรียง(Serial Verb)
เป็นคำที่ประกอบจากとぶ【飛ぶ】บิน +だす【出す】ออก

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า

การเริ่มบิน เช่น 「涼しくなって赤トンボが飛び出した」

จู่ๆก็บินออกไปข้างนอกด้วยความเร็วสูง เช่น「子供が道に飛び出す」

การเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น「スタート直後から飛び出す」

การรีบเร่งไปยังที่ที่หนึ่ง เช่น「学校に遅れそうになってあわてて家を飛び出す」
               
2.かんがえてみる【考えてみる】เป็น複合動詞แบบテ形類[v(คำขยาย)+V.] ประเภทที่3 คือคำกริยาประสมอื่นๆ
เป็นคำที่ประกอบจากかんがえる【考える】คิด+みる【みる】ดู
ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า ลองคิดดู
เช่น 「決心する前に、よく考えてみたらいい」

                3.のぞいてみる【除いてみる】เป็น複合動詞แบบテ形類[v(คำขยาย)+V.] ประเภทที่3 คือคำกริยาประสมอื่นๆ
เป็นคำที่ประกอบจากのぞく【除く】ส่อง+みる【みる】ดู

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า ลองส่องดู

เช่น 「心の底を除いてみる」

                4.むかい‐あ・う【向かい合う】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่4 คือ คำกริยาประสมอื่นๆ
        เป็นคำที่ประกอบจาก むく【向く】หัน+あう【合う】เข้าหา

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า การหันหน้าเข้าหากัน

เช่น「テーブルを挟んで向かい合う」

                5.おしえ‐こ・む【教え込む】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่4 คือ คำกริยาประสมอื่นๆ
           เป็นคำที่ประกอบจาก おしえる【教える】สอน+こむ【込む】แน่น

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า สอนอย่างเต็มที่ เช่น「イヌに芸を教え込む」

                6.にげ‐だ・す【逃げ出す】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่1 คือ คำกริยาประสมที่เกี่ยวข้องกับアスペクトซึ่งเป็นคำกริยาผสมที่แสดงขั้นตอนของกริยาประกอบ 

           เป็นคำที่ประกอบจาก にげる【逃げる】หนี+だす【出す】ออก

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า

การหนีออกจากที่ที่ตนกำลังอยู่ เช่น「逃げ出したい気分」

เริ่มหนีออกไป เช่น 「敗色濃厚になって兵が逃げ出す」

                7.おさえ‐つ・ける【押さえ付ける】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่4 คือ คำกริยาประสมอื่นๆ
           เป็นคำที่ประกอบจาก おさえる【押さえる】กด+つける【付ける】ติด

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า

จับไว้แน่นจนไม่ให้เขาขยับตัวได้ เช่น「首ねっこを押さえ付ける」

การกดดันอีกฝ่ายให้เห็นด้วยกับเรา เช่น 「少数意見を押さえ付ける」

การอดกลั้นที่จะแสดงความรู้สึกออกมา เช่น「怒りを押さえ付ける」

                8.ながれ‐つ・く【流れ着くเป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่4 คือ คำกริยาประสมอื่นๆ
           เป็นคำที่ประกอบจาก ながれる【流れる】ไหล+つく【着く】ถึง

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า การไหลไปจนติดอยู่ที่ที่หนึ่ง เช่น 「離れ小島に独りで流れ着いた」

9.ふる‐ま・う【振る舞う】เป็น複合動詞แบบ連用形類ประเภทที่4 คือ คำกริยาประสมอื่นๆ
           เป็นคำที่ประกอบจาก ふる【振る】สั่น+まう【舞う】เต้น

ซึ่งพอเป็น複合動詞มีความหมายว่า

การเคลื่อนไหว เช่น「なれなれしく振る舞う」

การเลี้ยงข้าวคน เช่น「酒を振る舞う」



ฮู้ว 複合動詞ทั้ง9คำที่เจอในบทนี้ก็จบลงแล้วนะกะต๊ากกกก บางคำนี่ก็พึ่งรู้ความหมายนะเนี่ย ฮ่าๆๆๆๆๆ

No comments:

Post a Comment